สาระน่ารู้ » เพกา ประโยชน์และสรรพคุณของเพกา

เพกา ประโยชน์และสรรพคุณของเพกา

1 ธันวาคม 2017
2847   0

เพกา (Broken Bones Tree, Damocles Tree, Indian Trumpet Flower) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก มะลิ้นไม้, มะลิดไม้ ส่วนภาคอีกสานเรียก ลิ้นฟ้า และมลายูเรียก เบโก เป็นต้น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในไทยด้วย โดยสามารถพบได้ทั่วไปตามป่าชื้น หรือป่าเบญจพรรณ ซึ่งบ้านเรานิยมนำมารับประทานเป็นผัก เนื่องจากมีแร่ธาตุและวิตามินสูง

 

ลักษณะทั่วไปของเพกา
สำหรับต้นเพกานั้นจัดเป็นไม้ยืนต้น โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 12 เมตร มีกิ่งก้านสาขาน้อย มีใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ออกเรียงตรงกันข้ามกระจุกตัวอยู่ปลายกิ่ง ส่วนดอกนั้นจะมีสีนวลอมเขียวขนาดใหญ่ออกอยู่ตามบริเวณยอดก้าน และมีผลเป็นฝักคล้ายดาบ ภายในมีเมล็ดแบน ๆ สีขาวอยู่ มักนิยมนำมารับประทานเป็นผักลวกจิ้มคู่กับน้ำพริกต่าง ๆ

ประโยชน์และสรรพคุณของเพกา

ฝักอ่อน – ช่วยในการขับผายลม ให้รสขมร้อน
ฝักแก่ – ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ให้รสขม
เมล็ดแก่ – ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ และช่วยระบายท้อง ให้รสขม
เปลือกต้น – ช่วยในการดับพิษกาฬ แก้อาการร้อนใน หรือท้องร่วง ช่วยในการสมานแผล ทำให้น้ำเหลืองกลับเป็นปกติ ตลอดจนช่วยดับพิษโลหิต หรือใช้ตำผสมกับสุราพ่นตามตัวผู้หญิงที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา รวมถึงนำมาใช้ตำผสมกับน้ำส้มมดแดงกับเกลือสินเธาว์ รับประทานเพื่อขับลมในลำไส้ แก้อาการอาเจียนไม่หยุด และแก้บิด นอกจากนี้ยังสามารถนำมาต้มรับประทานแก้อาการเสมหะจุกคอ ช่วยบำรุงโลหิต ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ และแก้จุกเสียด ตลอดจนนำมาฝนกับสุรากวาดปาก แก้พิษซาง เม็ดสีเหลือง และแก้อาการฟกช้ำบวม หรือทาแก้ปวดฝี และแก้ซางเด็ก แก้ละออง ให้รสฝาดขมเย็น
ราก – ช่วยบำรุงธาตุ แก้ไข้สันนิบาต แก้อาการท้องร่วม รวมทั้งทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร และนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแก้อาการอักเสบฟกช้ำบวม ให้รสฝาดขม
ทั้งห้า – ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย ช่วยสมานแผล แก้อักเสบฟกช้ำบวม และใช้แก้ไขเพื่อลมและโลหิต ตลอดจนแก้อาการท้องร่วง ให้รสฝาดขมเย็น

นอกจากนี้ ต้นเพกายังมีสรรพคุณด้านยาสมุนไพรที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ข้อควรระวังคือ สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้ รวมถึงมีความเชื่อว่าไม่ควรปลูกต้นเพกานี้ไว้ในบริเวณบ้าน ด้วยมีความเชื่อว่าอาจทำให้ผู้อยู่เดือดร้อนถึงขั้นเลือดตกยางออก เพราะมีรูปร่างคล้ายกับดาบที่เป็นของมีคม เป็นต้น

แหล่งที่มา http://www.เกร็ดความรู้.net/%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b8%b2/