สาระน่ารู้ » การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

8 ธันวาคม 2017
2118   0

ไก่พื้นเมือง

ความสำคัญของไก่พื้นเมือง

       ปัจจุบันประชาชนนิยมรับประทานไก่พื้นเมืองกันมาก แม้ว่าประชาชนจะนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่ไก่พื้นเมือง ก็ยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือประชาชนผู้รับประมาณเนื้อไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองในชนบทโดยทั่วไป ใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย จะให้อาหารบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงทำให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตช้าและเป็นโรคตายจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คือ เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง เนื้อเป็นที่นิยมรับประทาน เพราะมีรสชาติดีดังนั้น หากผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้เข้าใจ พร้อมทั้งมีการดูแลป้องกันรักษาการเกิดโรคต่างๆ ก็จะทำให้ผลผลิตไก่พื้นเมืองดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้ราคาดี เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกทางหนึ่งด้วย หากมองให้กว้างๆออกไปอีกไก่พื้นเมืองจะช่วยให้ธรรมชาติมีความสมดุลในระบบไร่นา คือ จะช่วยจิกกินแมลงที่ทำลายต้นพืชบางอย่างการ

 ต้นกำเนิดไก่พื้นเมือง

       ไก่พื้นเมืองตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้เป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในแถวทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ซึ่งมนุษย์ได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน หลังจากที่มนุษย์นำไก่มาเลี้ยง ไก่และมนุษย์ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตรายจากมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การวิวัฒนาการของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะเหลือต่ำ 10 ซึ่ง จำนวนนี้จะขยายพันธ์เพิ่มจำนวน ตัวที่แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้ จึงเป็นมรดกวัฒนธรรมจนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุก วันนี้ และเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลายเป็นทรัพย์สินภูมิปัญญา ของชาวบ้านโดยแท้ ชาวบ้านจดจำและเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้นเมืองควบคู่กันตลอด มา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถคุ้นเขี่ยหากินเองได้ตามธรรมชาติ  ส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้

          ดังนั้นไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์ และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เช่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

พันธุ์ไก่พื้นเมือง

ไก่ถูกจัดอยู่ในสัตว์ปีกจำพวกนก แต่เดิมนั้นเป็นไก่ป่า (Red Jungle fowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว ไก่พื้นเมืองของไทยมีการเลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านของเกษตรกร ซึ่งจำแนกตามลักษณะ ภายนอกและสีขน แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม

ไก่พื้นเมืองในชนบทหมู่บ้านต่างๆ  มีหลากหลายพันธุ์  เช่น  ไก่แจ้  ไก่อู  ไก่ตะเภา  ไก่เบตง  และไก่ชน  โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว  ไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชน  สังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนสีดำ  หน้าดำและแข้งดำ  หงอนหิน  แต่จะมีพันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา  สีทอง  แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน  ซึ่งก็เป็นลักษณะหงอนของไก่ชนอยู่ดี  เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ไก่ชน  เพราะว่าไก่ชนจะมีรูปร่างใหญ่และยาว  เจริญเติบโตได้ดีและแม่พันธุ์ก็ไข่ดก  เนื่องมาจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับร้อยปีมาแล้ว  เกษตรกรเพื่อนบ้านจะขอซื้อ  ขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์แบบเป็นคนรู้จักมันคุ้นกันและกัน  ก็ทำให้สายพันธุ์ศาสตร์ พบว่าไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติการเจริญเติบโตในระยะอายุ  4  เดือนแรก  เฉลี่ยใกล้เคียงกันมาก  คือ  เติบโตวันละประมาณ  9-10  กรัมเท่านั้น  แสดงให้เห็นว่าไก่พื้นเมืองเหล่านี้เป็นสายพันธุ์ไก่ชนจาก  17  จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่งแต่เน้นในด้ายการเจริญเติบโต  และไข่ดกเพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว  สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลายถึง  17  สีขน  เช่น  เหลืองหางขาว  ประดู่หางดำ  เหลืองเลา  ประดู่เลา  แสมดำ  เป็นต้น

 พันธุ์ไก่พื้นเมือง

ไก่ถูกจัดอยู่ในสัตว์ปีกจำพวกนก แต่เดิมนั้นเป็นไก่ป่า (Red Jungle fowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว ไก่พื้นเมืองของไทยมีการเลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านของเกษตรกร ซึ่งจำแนกตามลักษณะ ภายนอกและสีขน แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม

      ไก่พื้นเมืองในชนบทหมู่บ้านต่างๆ  มีหลากหลายพันธุ์  เช่น  ไก่แจ้  ไก่อู  ไก่ตะเภา  ไก่เบตง  และไก่ชน  โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว  ไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชน  สังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนสีดำ  หน้าดำและแข้งดำ  หงอนหิน  แต่จะมีพันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา  สีทอง  แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน  ซึ่งก็เป็นลักษณะหงอนของไก่ชนอยู่ดี  เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ไก่ชน  เพราะว่าไก่ชนจะมีรูปร่างใหญ่และยาว  เจริญเติบโตได้ดีและแม่พันธุ์ก็ไข่ดก  เนื่องมาจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับร้อยปีมาแล้ว  เกษตรกรเพื่อนบ้านจะขอซื้อ  ขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์แบบเป็นคนรู้จักมันคุ้นกันและกัน  ก็ทำให้สายพันธุ์ศาสตร์ พบว่าไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติการเจริญเติบโตในระยะอายุ  4  เดือนแรก  เฉลี่ยใกล้เคียงกันมาก  คือ  เติบโตวันละประมาณ  9-10  กรัมเท่านั้น  แสดงให้เห็นว่าไก่พื้นเมืองเหล่านี้เป็นสายพันธุ์ไก่ชนจาก  17  จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่งแต่เน้นในด้ายการเจริญเติบโต  และไข่ดกเพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว  สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลายถึง  17  สีขน  เช่น  เหลืองหางขาว  ประดู่หางดำ  เหลืองเลา  ประดู่เลา  แสมดำ  เป็นต้น

 สายพันธุ์เหลืองหางขาว

         แหล่งกำเนิด ไก่เหลืองหางขาว มีถิ่นกำเนิดแถวภาคเหนือของไทย บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งกำเนิดไก่พันธุ์เหลืองหางขาวพันธุ์ดีสายเลือดแท้ นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป ประเภท ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัว เพศผู้ 3-4 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ สีขาวนวล

         ไก่เหลืองหางขาว คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ไก่ เหลืองหางขาวที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง บ้านหัวเทจังหวัดพิษณุโลกเพราะไก่พิษณุโลกเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ที่ครั้ง หนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ทรงนำไก่เหลือง หางขาวจากพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชาไก่เหลืองหาง ขาว เป็นไก่ฉลาดปราดเปรียว อึด ทน เป็นไก่เชิงแปดกระบวนท่า ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด

         ลักษณะลูกไก่ หน้าอก ปีกไชนอกมีสีขาว ส่วนปาก และขา สีขาวอมเหลืองสายพันธุ์เหลืองหางขาว  เป็นสายพันธุ์ไก่ชนลักษณะปากสีขาวอมเหลือง  หรือสีงาช้าง  ปากสั้น  อวบใหญ่คล้ายปากนกแก้ว  และมีร่องน้ำชัดเจน  กลางปากนูนเป็นสันข้างๆ  เป็นร่องน้ำ  ตาเป็นเหยี่ยว  หัวตาแหลม  ตาดำคว่ำ  ตาดำเล็กและรี  รอบๆ  ตาดำสีขาวอมเหลือง  หงอนหิน  ด้านบนของหงอนบางเรียบปลายหงอนยาวเลยตา  โคนหงอนโค้งติดกับศีรษะ  ตุ้มหูสีแดงเดียวกับหงอนเล็กไม่หย่อนยานรัดรับกับใบหน้า  เหนียงเล็กรัดติดคาง  รูปใบหน้าแหลมยาว  มีเนื้อแน่น   ผิวหน้าเรียบมัน  กะโหลกศีรษะหนายาว      ลักษณะลำตัวอกแน่นกลมมีเนื้อเต็ม  กระดูกอกยาวตรง  หลังเป็นแผ่นกว้าง  มีกล้ามเนื้อมาก  หลังเรียบตรงไม่โค้งนูน  ไหล่กว้างยกตั้งตรง  คอใหญ่  กระดูกคอถี่  ปั้นขาใหญ่ กลมมีเนื้อเต็ม เนื้อแน่น  แข็งแรง  ผิวหนังขาวอมเหลือง  ขาวอมแดง  สีขนลำตัวดำจะมีแซมขาวบ้างที่หัว  หัวปีก  ข้อขา  สร้อยคอเหลืองชัดเจน  ยาวประบ่า  สร้อยหลังเป็นสีเดียวกับสร้อยคอเรียงกันเต็มแผ่นหลัง  เริ่มจากโคนคอถึงโดนหาง  เส้นขนละเอียดยาวระย้า  สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ  เห็นเด่นชัดเจนยิ่งขาวและยาวมาก ๆ  ยิ่งดี  ขนหางควรพุ่งตรงและยาว  ปลายหางโค้งตกลงเล็กน้อย  ขาแข้งและเดือยขาวอมเหลืองสีเดียวกับสีปาก  เกล็ดแข็งแน่นหนาเรียบ  เดือยใหญ่แข็งแรง  เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ  และไม่มีสีดำปน  เพศเมียลำตัวสีดำ  หงอนและใบหน้าสีเดียวกับไก่ตัวผู้

ไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว

สายพันธุ์ประดู่หางดำ
ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำมีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้ ปาก เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีปากสีดา อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้าทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้าจะเป็นสันราง ตา ตาสีประดู่ หรือแดง อมม่วง หรือตาออกสีดา หรือสีแดง หงอน หงอนหินไม่มีจักเลย สร้อยคอ สร้อยคอ สีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น ขน ขนลาตัวขนปีกและหางสีดา กะลวยหางดา โคนขาใหญ่ หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น ขาแข้ง เล็บและเดือย สีดา เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย ไก่ประดู่หางดา

ไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ

สายพันธุ์เขียวหางดำหรือเขียวกา
เขียวกา  หรือเขียวหางดำ  ลักษณะทั่วๆ  ไปคล้ายๆ  กับประดู่หางดำ  ปากดำ  หงอนหิน  หน้าหงอนบาง  กลางหงอนสูง  ท้ายหงอนจะตกกดกระหม่อม  สร้อยคอหลังและสร้อยหางสีเขียว  ขนปีและลำตัวเขียว  หางดำแข้งดำ  และเล็บดำเป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนา มาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ สืบได้ตั้งแต่ ต้นสมัยสุโขทัย เป็นต้นมา ไก่เขียวหางดา เป็นไก่พันธุ์หนึ่งมีชั้นเชิงดีมีลาหัก ลาโค่นดี นิยมเลี้ยงแพร่หลายตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เช่น พระยาพิชัยดาบหัก เลี้ยงไก่เขียวหางดา ชื่อ ไก่พาลี
ไก่เขียวหางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์แท้จะเป็นไก่อุตรดิตถ์ ชลบุรี (พนัสนิคม) อยุธยา และแถบภาคใต้หลายจังหวัด ไก่เขียวหางดาเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ และในวรรณคดีไทย เรื่องพระรถเมรี หรือพระรถเสน หรือนางสิบสอง ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ พระยาพิชัยดาบหัก ไก่เขียวหางดามีถิ่นกาเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของไทย ไก่เขียวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น แถบภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี (พนัสนิคม) เรียก “เขียวพระรถ” ในภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เรียก “เขียวพาลี” ส่วนภาคกลาง เรียก “เขียวพระยาพิชัยดาบหัก” และภาคใต้ เรียก “เขียวมรกต” และยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น เขียวไข่กา, เขียวพระอินทร์, เขียวนิลสาริกา ไก่พันธุ์เขียวหางดา ปัจจุบันค่อนข้างหายาก กาลังอนุรักษ์และพัฒนากันต่อไป ประเภท ไก่เขียวหางดา เป็นไก่ขนาดกลาง น้าหนักโดยเฉลี่ย เพศผู้หนัก 3.00 กิโลกรัมขึ้นไป เพศเมียประมาณ 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ สีน้าตาลนวล ลักษณะลูกไก่ หัว หน้าอก ปีกไชนอก สีขาวเล็กน้อยคล้ายประดู่หางดา ปาก แข้ง สีเขียวอมดา หรือน้าตาลอมดา

ไก่พื้นเมืองเขียวหางดำหรือเขียวกา

ไก่แดง : มีรูปร่างสูง ทะมัดทะแมง ขนพื้นลาตัว หน้าคอ หน้าท้อง ขนใต้ปีก ขนสร้อยคอ สร้อยปีกแดง ขนหางมีสีดาหรือแดงมีขนสีขาว แซม ปากและแข้งสีเหลือง ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่สีน้าตาลอ่อน หงอนถั่ว

ไก่แดง

ไก่ชี :มีรูปร่างโปร่ง ขนลาตัว สร้อยคอ สร้อยหลังและขนหางมีสีขาว ปากและแข้งสีเหลืองและขาวอมเหลือง ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่ สีขาวนวล หงอนถั่ว

ไก่ชี

เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีประโยชน์ ดังนี้

1. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอาหารที่ดีมีคุณภาพไว้รับประทานเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองทำให้เด็กเจริญเติบโตเร็ว และช่วยบำรุงสมองให้มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด
2. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองมารับประทาน สามารถเอาเงินนั้นเก็บไว้ซื้อสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นและหากผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเลี้ยงไว้จนเหลือรับประทานแล้วก็สามารถนำไก่พื้นเมืองไปขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วยอีกทางหนึ่ง
3. มูลไก่เป็นปุ๋ยคอกที่มีธาตุอาหารของพืชสูง มูลไก่เป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็นปุ๋ยต้นไม้ต่าง ๆ ได้ดี และเป็นอาหารเลี้ยงปลาก็ได้ เนื่องจากมูลไก่พื้นเมืองมีธาตุอาหารมากมาทั้งไนโตรเจน โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส
4. ไก่พื้นเมืองสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เนื่องจากไก่พื้นเมืองขายได้ราคาดีมากทั้งตัวผู้และตัวเมีย หรือสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
5. ไก่พื้นเมืองเลี้ยงง่ายและมีความต่างทานโรคสูง สามารถปล่อยให้หากินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงดูเหมือนไก่พันธุ์อื่น ๆ
6. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองสามารถช่วยแก้ความเครียด ความหงุดหงิดได้ เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

แหล่งข้อมูล  :  http://breeding.dld.go.th/biodiversity/new%20elearning/native%20chicken.html

กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
69/1 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร.02-6534444 ต่อ 3213 แฟกซ์ 02-6534922

จัดทำโดย : กศน.ตำบลสบสาย